วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผักกระเฉด

ผักกระเฉด

ผักกระเฉด
ผักกระเฉด ชื่อสามัญ Water mimosa
ผักกระเฉด ชื่อวิทยาศาสตร์ Neptunia oleracea Lour. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Neptunia natans (L.f.) Druce, Neptunia prostrata (Lam.) Baill.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยสีเสียด (MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE)
สมุนไพรผักกระเฉด มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักหละหนอง (แม่ฮ่องสอน), ผักกระเสดน้ำ (ยโสธร, อุดรธานี, ภาคอีสาน), ผักกระเฉด ผักรู้นอน (ภาคกลาง), ผักหนอง (ภาคเหนือ), ผักฉีด (ภาคใต้) เป็นต้น
กระเฉด จัดเป็นพืชที่เกิดตามผิวน้ำ ลำต้นเป็นเถากลม เนื้อนิ่ม ลักษณะของใบจะคล้ายกับใบกระถิน โดยใบจะหุบในยามกลางคืน จึงเป็นที่มาของชื่อ “ผักรู้นอน” ระหว่างข้อจะมีปอดเป็นฟองสีขาวหุ้มลำต้นที่เรียกว่า “นมผักกระเฉด” ซึ่งทำหน้าที่ช่วยพยุงให้ผักกระเฉดลอยน้ำได้นั่นเอง และยังมีรากงอกออกมาตามข้อซึ่งจะเรียกว่า “หนวด” ลักษณะของดอกจะเป็นช่อเล็ก ๆ สีเหลือง และผลจะมีลักษณะเป็นฝักโค้งงอเล็กน้อย แบน มีเมล็ดประมาณ 4-10 เมล็ด
ผักกระเฉดคุณค่าทางโภชนาการของผักกระเฉด 100 กรัมจะมี ธาตุแคลเซียม 123 มิลลิกรัม ซึ่งถือว่าสูงมาก นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วย เส้นใย ธาตุเหล็ก ธาตุฟอสฟอรัส วิตามินเอ เบตาแคโรทีน วิตามินบี 3 วิตามินซี อีกด้วย
ข้อควรระวัง : แต่ก็มีคำแนะนำออกมาว่าการรับประทานผักกระเฉดควรทำให้สุกก่อนนำมารับประทาน เพราะมีความเสี่ยงต่อพยาธิตัวอ่อนที่อาจปะปนเข้ามา รวมไปถึง “ไข่ปลิง” ที่ทนความร้อนได้สูงมาก แอดมินไปอ่านเจอมาว่าต้องต้มด้วยความร้อนสูงถึง 500 องศาเซลเซียสและต้องต้มนานเป็นชั่วโมงเลยถึงจะรับประทานได้อย่างปลอดภัย และนอกจากนี้ยังอาจมีสารพิษจากยาฆ่าแมลง “คาร์โบฟูราน” ปลอมปนเข้ามาอีกด้วย ซึ่งสารพิษตัวนี้มีพิษร้ายแรงต่อร่างกายมนุษย์ มีผลต่อระบบประสาทและหัวใจ เป็นสารก่อมะเร็ง และอาจทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานผิดปกติได้ ซึ่งผักกระเฉดในบ้านเราก็เคยถูกอียูสั่งแบน ห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาดมาแล้วด้วยสาเหตุนี้เอง ถ้าไม่แน่ใจจริงก็รับประทานด้วยวิธีปรุงสุกจะดีกว่ารับประทานแบบประเภทยำ
กระเฉด

ประโยชน์ของผักกระเฉด

  1. ผักกระเฉดสรรพคุณผักกระเฉดมีประโยชน์ช่วยบำรุงร่างกายและดับพิษ
  2. ผักกระเฉดมีวิตามินเอ ซึ่งเป็นตัวช่วยบำรุงและรักษาสายตาได้เป็นอย่างดี
  3. ประโยชน์ของผักกระเฉด ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ
  4. ผักกระเฉดมีธาตุเหล็ก ซึ่งมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและช่วยป้องกันโรคโลหิตจางได้อีกด้วย
  5. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
  6. กระเฉดมีฤทธิ์เป็นยาเย็น จึงช่วยดับพิษร้อนได้เป็นอย่างดี
  7. ผักกระเฉดมีสรรพคุณช่วยแก้พิษไข้
  8. ช่วยบรรเทาอาการปวดฟัน ด้วยการนำผักกระเฉดมาตำผสมกับเหล้า แล้วหยอดในบริเวณฟันที่มีอาการปวด
  9. ช่วยเสริมสร้างกระบวนการเผาผลาญสารอาหารให้สร้างเป็นพลังงานให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี
  10. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก
  11. เมนูผักกระเฉดสรรพคุณผักกระเฉดช่วยขับเสมหะ
  12. ช่วยขับลมในกระเพาะ
  13. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตับอักเสบ
  14. ช่วยรักษาโรคกามโรค
  15. ช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อน
  16. สรรพคุณของผักกระเฉดช่วยถอนพิษยาเบื่อยาเมา
  17. ประโยชน์ผักกระเฉด ผักกระเฉดเป็นผักที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุไฟและธาตุดิน ซึ่งจะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความสมดุลและไม่เจ็บป่วยได้ง่าย
  18. เมนูผักกระเฉด เช่น ยำวุ้นเส้นผักกระเฉด ผัดหมี่กระเฉด เส้นหมี่ผัดกระเฉดกุ้ง ผัดผักกระเฉดไฟแดง ผักกระเฉดผัดน้ำมันหอย ผักกระเฉดทอดไข่สามรส แกงส้มผักกระเฉดปลาช่อนทอด ฯลฯ หรือจะใช้รับประทานสดร่วมกับน้ำพริกก็ได้

ผักกาดขาว

ผักกาดขาว


ผักกาดขาว ชื่อสามัญ Chinese Cabbageผักกาดขาว
ผักกาดขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa L. (Brassica pekinensis var. cylindrica Tsen & S.H.Lee) (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica chinensis var. pekinensis (Lour.) V.G. Sun) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
ผักกาดขาว มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดขาวปลี, แปะฉ่าย, แปะฉ่ายลุ้ย เป็นต้น
สายพันธุ์ผักกาดขาวที่นิยมปลูกมีอยู่ 3 พันธุ์ คือ พันธุ์เข้าปลียาว (ลักษณะสูง เป็นรูปไข่), พันธุ์เข้าปลีกลมแน่น (ลักษณะสั้น อ้วนกลม) และพันธุ์เข้าปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี (ปลูกได้ทั่วไป เช่น ผักกาดขาวธรรมดา ผักกาดขาวใหญ่)
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดขาว 100 กรัม มีน้ำ 91.7 กรัม, กรดอะมิโน, โปรตีน 0.6 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม, เส้นใย 0.8 กรัม, แคโรทีน 0.02 มิลลิกรัม, วิตามินบี 1 0.02 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.04 มิลลิกรัม, วิตามินซี 30 มิลลิกรัม, ธาตุแคลเซียม 49 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 34 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.5 มิลลิกรัม, ธาตุโพแทสเซียม 196 มิลลิกรัม, ธาตุซิลิกอน 0.024 มิลลิกรัม, ธาตุแมงกานีส 1.26 มิลลิกรัม, ธาตุทองแดง 0.21 มิลลิกรัม, ธาตุสังกะสี 3.21 มิลลิกรัม, ธาตุโมลิบดีนัม 0.125 มิลลิกรัม, ธาตุโบรอน 2.07 มิลลิกรัม, กรดนิโคตินิค (Nicotinic acid) 0.5 มิลลิกรัม
ผักกาดขาวเป็นผักที่มีเส้นใยสูงมาก โดยเส้นใยที่ว่านี้เป็นเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำ แต่จะพองตัวเมื่อมีน้ำ จึงมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งการอุ้มน้ำได้ดีนี้จะช่วยเพิ่มปริมาตรของกากอาหาร ช่วยกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ ทำให้กากอาหารอ่อนนุ่ม ขับถ่ายสะดวก และยังช่วยแก้อาการท้องผูกอีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความหนืด ทำให้ไม่ถูกย่อยได้ง่าย ช่วยดูดซับและแลกเปลี่ยนประจุ จึงช่วยป้องกันและกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยดึงเอาสารพิษที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทาน ช่วยลดความหมักหมมของลำไส้ จึงมีผลทำให้ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี !
สำหรับสรรพคุณช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้นั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบขนาดของเส้นใยอาหารที่ต้องรับประทานอย่างแน่นอน แต่ในสหรัฐฯ ได้กำหนดให้เพศชายวัยสูงอายุ ควรบริโภคเส้นใยอาหารประมาณ 18 กรัมต่อวัน และสำหรับวัยหนุ่มสาวควรรับประทาน 20-25 กรัมต่อวัน และการรับประทานที่มากกว่าปริมาณที่กำหนดก็ไม่ได้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งแต่อย่างใด แต่จะช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีมากขึ้น อย่างเช่นในเรื่องของการขับถ่าย แก้อาการท้องผูก เป็นต้น

สรรพคุณของผักกาดขาว

  1. ผักกาดขาวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  2. มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  3. ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  4. ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  5. ประโยชน์ผักกาดขาวช่วยแก้กระหาย
  6. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
  7. แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
  8. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
  9. ช่วยขับน้ำนม (ใบ)
  10. ผักกาดขาวมีออร์กาโนซัลไฟด์ (organosulffide) และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  11. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
  12. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  13. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน
  14. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  15. มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษ ของเสีย และโลหะหนักออกจากร่างกาย
  16. ผักกาดอุดมไปด้วยโฟเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
  17. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงมากขึ้น
  18. ช่วยแก้หืด (เมล็ด)
  19. ช่วยแก้อาการหวัด ด้วยการต้มหัวผักกาดดื่มเป็นน้ำ
  20. ช่วยแก้อาการไอและเสมหะ ด้วยการใช้หัวผักกาดพอประมาณ ใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วต้มกับน้ำดื่ม (หัวผักกาด, เมล็ด)
  21. ช่วยแก้อาการเสียงแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน้ำหัวผักกาดขาว เติมน้ำขิงเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
  22. ช่วยแก้เลือดกำเดาออก
  23. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
  24. ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการคั้นน้ำจากหัวผักกาดขาวแล้วนำมาใช้บ้วนปากเป็นประจำ
  25. ช่วยแก้อาการเรอเปรี้ยว ด้วยการนำหัวผักกาดขาวดิบมาหั่นประมาณ 3-4 แว่นแล้วนำมาเคี้ยวกินแก้อาการ
  26. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ใบ)
  27. ประโยชน์ของผักกาดขาวช่วยในการย่อยอาหาร (หัวผักกาด, ใบ)
  28. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  29. ช่วยแก้ท้องเสีย (หัวผักกาด, เมล็ด, ใบ)
  30. ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
  31. สรรพคุณของผักกาดขาวช่วยขับปัสสาวะ
  32. ประโยชน์ของผักกาดขาวช่วยแก้พิษสุรา
  33. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
  34. ช่วยรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  35. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา
  36. ช่วยแก้อาการอักเสบ
  37. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือแผลโดนสะเก็ดไฟ ด้วยการใช้หัวผักกาดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้เมล็ดนำมาตำให้แหลกแล้วพอกก็ใช้ได้เช่นกัน (หัวผักกาด, เมล็ด)
  38. ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 60 กรัมนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกกับเหล้า (อุ่นให้ร้อน) แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (หัวผักกาด, ใบ, เมล็ด)
  39. เมนูผักกาดขาวก็ได้แก่ ผัดผักกาดขาว, แกงจืดผักกาดขาว, ต้มจืดผักกาดขาวยัดไส้ ฯลฯ

ผักคะน้า

ผักคะน้า

ผักคะน้า
ผักคะน้า ชื่อสามัญ Kai-Lan (Gai-Lan), Chinese broccoli, Chinese kale (ชาวจีนจะเรียกว่าผักชนิดนี้ว่า “ไก่หลันไช่“)
ผักคะน้า ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea L. Cv. Alboglabra Group (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Brassica alboglabra L.H.Bailey) จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)
คะน้า เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชียซึ่งเพาะปลูกมากในประเทศจีน ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทยบ้านเราด้วย
ผักคะน้าเป็นผักที่สามารถเพาะปลูกได้ตลอดปี (แต่ช่วงเวลาเพาะปลูกที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน) มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สำหรับบ้านเราสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน เป็นต้น เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก มัดหรือปิดให้แน่นแล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผักของตู้เย็น ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยรักษาวิตามินในผักให้คงอยู่ได้มากที่สุด
ผักคะน้าคะน้าเป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เป็นผักที่หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีสิ่งที่ควรจะระวังเป็นพิเศษนอกจากการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงแล้ว อาจจะต้องระวังในเรื่องของธาตุแคดเมียมที่อาจจะปนเปื้อนมากับน้ำและพื้นดินด้วย เพราะหากร่างกายได้รับเข้าไป มันจะเข้าไปสะสมในตับและไต ซึ่งจะเป็นพิษต่อตับและไตของคุณเอง และก่อนนำมารับประทานคุณควรล้างทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง ด้วยการล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง หรือจะล้างด้วยการใช้น้ำก๊อกไหลผ่านอย่างน้อย 2 นาที หรือจะใช้สารละลายอื่น ๆ ก็จะดีมาก เช่น น้ำยาล้างผัก น้ำส้มสายชู เกลือละลายน้ำ เป็นต้น (เพราะผักคะน้านั้นได้ชื่อว่าเป็นผักที่พบสารพิษตกค้างหรือยาฆ่าแมลงมากที่สุด)
ผักคะน้ามีสารกอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งการได้รับในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ร่างกายขาดแร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก และยังไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์อีกด้วย ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเรานำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ เป็นต้น ทางที่ดีที่สุดควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักชนิดซ้ำ ๆ เดิม ๆ และควรเลือกรับประทานผักให้หลากหลาย ร่างกายจะได้ประโยชน์มากที่สุด

ประโยชน์ของคะน้า

  1. สรรพคุณของผักคะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  2. ผักคะน้ามีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  4. ผักคะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
  5. สรรพคุณผักคะน้าช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  6. สรรพคุณของคะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
  8. ประโยชน์ของผักคะน้า ช่วยบำรุงโลหิต
  9. ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  11. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
  12. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
  13. คะน้ามีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
  14. สรรพคุณคะน้ามีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  15. ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
  16. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
  17. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
  18. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
  19. สรรพคุณของผักคะน้าช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  20. ผักคะน้ามีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
  21. ผักรสขมอย่างคะน้าช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
  22. ผักคะน้ามีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคท้องผูก (เส้นใย)
  23. ประโยชน์ของผักคะน้าการรับประทานผักคะน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
  24. ประโยชน์ผักคะน้า ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  25. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน
  26. เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะผักคะน้าถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ (3-5%)
  27. คะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ (กรดโฟลิก)
  28. ผักคะน้ามีโฟเลตสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
  29. ประโยชน์ของคะน้า ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ (ธาตุแคลเซียม)
  30. ประโยชน์คะน้า สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูคะน้าก็เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ยำก้านคะน้า ต้มจับฉ่าย คะน้าไก่กรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าเห็ดหอม คะน้าปลากระป๋อง ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น

ผักบุ้ง

ผักบุ้ง

  • ผักบุ้ง
ผักบุ้ง ชื่อสามัญ Swamp morning glory, Thai water convolvulus, Morning glory, Water spinach, Water morning glory, Swamp cabbage
ผักบุ้ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea aquatica Forssk. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Ipomoea reptans Poir.) จัดอยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (CONVOLVULACEAE)
ผักบุ้งมีชื่อเรียกอื่นว่าผักทอดยอด เป็นอาหารเพื่อสุขภาพที่เรามักจะคุ้นเคยกันมาตลอดว่ามีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา แต่จริง ๆ แล้วผักชนิดนี้ยังมีประโยชน์มากกว่านั้น เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ ๆ
แต่ก่อนจะไปรู้ถึงประโยชน์มาดูกันก่อนว่าผักบุ้งที่นิยมนำมาใช้รับประทานนั้นมีสายพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน สำหรับผักบุ้งไทยเป็นผักบุ้งสายพันธุ์ธรรมชาติที่ขึ้นเองตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งจะมียางมากกว่าผักบุ้งจีน ส่วนผักบุ้งจีนเป็นพันธุ์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ (แต่ปลูกได้เองแล้วที่เมืองไทย) โดยส่วนมากที่นิยมปลูกขายก็คือผักบุ้งจีน เพราะลำต้นค่อนข้างขาว ใบเขียวอ่อน ดอกขาว มียางน้อยกว่าผักบุ้งไทย จึงได้รับความนิยมในการรับประทานมากกว่าผักบุ้งไทยนั่นเอง
ในผักบุ้ง 100 กรัมจะให้พลังงาน 22 กิโลแคลอรี ประกอบด้วยเส้นใย วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ อีกด้วย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ผักบุ้งไทยนั้นจะมีวิตามินซีสูงและสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งจีน แต่จะมีแคลเซียมและเบตาแคโรทีน (วิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา) น้อยกว่าผักบุ้งจีน หากรับประทานสด ๆ ได้ จะทำให้คุณค่าของวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ไม่เสียไปกับความร้อนอีกด้วย
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำนั้นควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักบุ้ง เพราะผักบุ้งมีคุณสมบัติไปช่วยลดความดันโลหิต จะทำให้ความดันยิ่งต่ำลงไปใหญ่ อาจจะก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริวได้ง่ายและบ่อยขึ้น ทำให้ร่างกายอ่อนแอ

ประโยชน์ของผักบุ้ง

  1. ประโยชน์ของผักบุ้งข้อแรกคือมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
  4. ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
  5. ช่วยบำรุงธาตุ
  6. สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
  7. ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
  8. ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  9. ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
  10. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผักบุ้ง)
  11. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  12. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  13. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  14. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
  15. ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
  16. ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
  17. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากผักบุ้ง)
  18. แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม
  19. ใช้แก้โรคหืด (รากผักบุ้ง)
  20. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
  21. ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
  22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  23. ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
  24. ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
  25. ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
  26. ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  27. ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  28. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  29. ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากผักบุ้ง)
  30. ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา
  31. รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง
  32. ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร
  33. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  34. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  35. ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
  36. ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  37. แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
  38. ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
  39. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  40. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม
  41. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  42. ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น เกษตรกร เป็นต้น
  43. นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
  44. ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
  45. ผักบุ้ง ประโยชน์ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น
advertisement M11 

ผักชีฝรั่ง

ผักชีฝรั่ง

  • ผักชีฝรั่ง
ผักชีฝรั่ง ชื่อสามัญ Culantro, Long coriander, Sawtooth coriander
ผักชีฝรั่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ Eryngium foetidum L. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี (APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
ผักชีฝรั่ง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ผักชีดอย ผักจีดอย ผักจีฝรั่ง หอมป้อมกุลา หอมป้อมกูลวา ห้อมป้อมเป้อ (เชียงใหม่, ภาคเหนือ), มะและเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน), ผักชีใบเลื่อย (ขอนแก่น,พิจิตร), ผักหอมเทศ ผักหอมเป (เลย,ขอนแก่น), หอมป้อม หอมเป (ชัยภูมิ), หอมน้อยฮ้อ (อุตรดิตถ์), หอมป้อมเปอะ (กำแพงเพชร) เป็นต้น
ผักชีฝรั่ง เป็นพืชล้มลุก จัดอยู่ในวงศ์ผักชี โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้และประเทศเม็กซิโก แต่ปัจจุบันมีการเพาะปลูกทั่วโลก เป็นผักที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีใบสีเขียวอ่อน ขอบใบมีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย และสำหรับวิธีการเลือกซื้อผักชีฝรั่งนั้นให้เลือกซื้อเอาใบที่เขียวสด ไม่เหลืองและเหี่ยว เมื่อซื้อมาแล้วก็เก็บใส่ถุงพลาสติกผูกให้มิดชิดแล้วนำไปแช่ตู้เย็นในช่องผักได้เลย
รูปผักชีฝรั่งสำหรับคุณค่าทางโภชนาการของผักชีฝรั่งนั้นก็มีมากมาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก เป็นต้น (ผักพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง, 2550, น.56)
เนื่องจากผักชีฝรั่งนั้นมีกรดออกซาลิก (Oxalic acid) ในปริมาณที่สูงมากเป็นอันดับ 1 ในตระกูลผักทั้งหลาย ซึ่งกรดออกซาลิกนี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคนิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาการที่พบตามมาก็ได้แก่ อาการปวดท้อง ปวดเอว ปัสสาวะติดขัด เป็นต้น ดังนั้นคุณไม่ควรที่จะบริโภคผักชีฝรั่งในปริมาณมากเกินไปหรือรับประทานติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน แต่ควรเปลี่ยนไปรับประทานผักชนิดอื่นบ้างสลับกันไป เพราะมันจะทำให้ร่างกายของคุณได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด (ผักแม้จะมีประโยชน์ แต่เราก็ต้องฉลาดบริโภคด้วยนะครับ) และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่แนะนำให้รับประทานผักชีฝรั่ง !

ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง

  1. สรรพคุณของผักชีฝรั่งผักชีฝรั่งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย (ใบ)
  2. ผักชีฝรั่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
  3. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
  4. ช่วยลดระดับความดันโลหิต (ลำต้น)
  5. ช่วยทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้อย่างเป็นปกติ (ลำต้น)
  6. ช่วยบำรุงผิวพรรณ เส้นผม และเล็บให้แข็งแรง (ลำต้น)
  7. ช่วยรักษาสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี (ใบทำเป็นชาชงดื่มวันละ 3 ถ้วย)
  8. ช่วยกระตุ้นร่างกาย (ใบ, น้ำต้มจากราก)
  9. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ทั้งต้น)
  10. ช่วยขับเหงื่อ (น้ำต้มจากราก)
  11. ช่วยแก้ไข้ (ใบ, น้ำต้มจากราก)
  12. ช่วยแก้ไข้มาลาเรีย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
  13. ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  14. สรรพคุณผักชีฝรั่งช่วยระบายท้อง ด้วยการใช้น้ำคั้นหรือน้ำต้มจากใบนำมาดื่ม (ใบ)
  15. ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร (ลำต้น)
  16. ใช้เป็นยาถ่าย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม (ลำต้น)
  17. ประโยชน์ของผักชีฝรั่งช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (ใบ)
  18. ช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ (ทั้งต้น)
  19. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำต้มจากราก)
  20. สรรพคุณของผักชีฝรั่ง ช่วยรักษาผดผื่นคันตามผิวหนัง
  21. ช่วยฆ่าเชื้อโรค (ลำต้น)
  22. ช่วยแก้พิษงู ด้วยการใช้ลำต้นนำมาตำแล้วนำมาพอกบริเวณที่โดนกัด (ลำต้น)
  23. ช่วยแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย (ทั้งต้น)
  24. ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  25. มีส่วนช่วยทำให้เลือดหยุดไหลเร็วขึ้น (ใบ)
  26. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ลำต้นของผักชีฝรั่งนำมาตำผสมกับน้ำมันงาแล้วนำไปหมกไฟให้สุก จึงค่อยนำมาประคบแก้อาการปวดเมื่อย (ลำต้น)
  27. ช่วยแก้บวม ด้วยการใช้ใบนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
  28. ประโยชน์ผักชีฝรั่ง ช่วยทดแทนการเสียธาตุเหล็กสำหรับหญิงให้นมบุตร (ใบ)
  29. ผักชีฝรั่งมีสรรพคุณช่วยบำรุงกำหนัด เสริมสร้างความต้องการทางเพศ (น้ำต้มจากทั้งต้น)
  30. ช่วยดับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดีและทำให้ลมหายใจสดชื่นขึ้น(ใบ)
  31. ช่วยเพิ่มรสชาติให้อาหาร (ใบ)
  32. ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร (ใบ)
  33. ประโยชน์ของผักชีฝรั่ง ใบและใบอ่อนของผักชีฝรั่งนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาจจะเป็นผักแกล้มกับน้ำพริก ลาบ ก้อย และยำต่าง ๆ รวมไปถึงสารพัดต้มยำด้วย (ใบ)